ชื่อวิทยาศาสตร์ | Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte |
ชื่อสามัญ | Eagle wood, Agarwood, Aglia, Aloewood, Akyaw, Calambac, Calambour, Lignum aloes |
วงศ์ | Thymelaeaceae Genus: Aquilaria |
ชื่ออื่น | กฤษณา (ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) อครุ, ตคร (บาลี) ติ่มเฮียง (ไม้หอมที่จมน้ำ) (จีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), สีเสียดน้ำ(บุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ(จันทบุรี), ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้), gaharu, kikaras, mengkaras (อินโดนีเซีย), gaharu, tengkaras, karas (มาเลเซีย), agar (พม่า), Eagle Wood, Aglia, Lignum Aloes, Agarwood, Calambac, Akyaw, Aloewood, Calambour (อังกฤษ), Sasi (Assamese), Chen Xiang (จีน) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ลักษณะของเนื้อไม้
ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติและเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาตั้งแต่โบราณแล้ว ดังกล่าวถึงในมหาชาติคำหลวงสมัยอยุธยา ตอนต้น พ.ศ. 2025 ว่ามีทั้งไม้กฤษณาขาว (เสตครู) และ กฤษณาดำ (ตระคัร) ซึ่งมีเนื้อไม้หอม ส่วนเนื้อไม้ที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่างๆ ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว (Resin) อยู่มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิดคือ Dihydroagarofuran, β-Agarofuran, α-Agarofan, Agarol, Agarospirol, Eudesmane, Valencane, Eromophilane, Vetispirane และสารพวกอนุพันธุ์ของ Chromome น้ำมันกฤษณานี้เองที่ทำให้ไม้กฤษณามีกลิ่นหอม และมีราคาแพงอย่างมหาศาล
|
ประโยชน์ | ซึ่งเป็นสีดำ และมีกลิ่นหอม คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ ใช้ผสม ยาหอม แก้ลมวิงเวียนศีรษะ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆบำบัดโรคปวดบวมตามข้อ |
แหล่งอ้างอิง | https://www.pharmacy.mahidol.ac.th |