ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ampelocissus martini Planch. |
ชื่อสามัญ | – |
วงศ์ | Vitaceae |
ชื่ออื่น | กุ่ย (อุบลราชธานี), เครืออีโกย อีโก่ย (นครราชสีมา), เถาเปรี้ยว (กรุงเทพมหานคร), เถาวัลย์ขน (ราชบุรี), ส้มกุ่ย (สระบุรี), ส้มออบ (นครศรีธรรมราช), ส้มกุ้ง (ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช), องุ่นป่า |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ไม้เถาเลื้อย มักเกาะพันต้นไม้อื่น ไม่ผลัดใบ มีมือเกาะออกตามข้อมักออกตรงข้ามกับใบ เถาเป็นปล้อง กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม เถาแก่สีน้ำตาลแดง มักมีร่องยาวตามแนวยาวของเถา เถาแก่แข็งมีเนื้อไม้ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ หยักเว้า 3-5 แฉก กว้างประมาณ 10-13.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร โคนใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบหยักซี่ฟันแหลม ขอบใบเว้าเป็น 3-5 แฉก ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่มสีแดงปกคลุม ก้านใบมีขน เส้นใบหลักออกมาจากจุดเดียวกันที่ฐานใบ ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกตรงข้ามกับใบและโคนเถา ยาวประมาณ 7.5 เซนติเมตร เถาที่ออกดอกและติดผล ใบจะร่วงหมด ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก กลีบรวมสีชมพู กลางดอกสีแดงเข้ม เกสรเพศผู้มี 5 อัน เกสรเพศเมียอยู่เหนือวงกลีบ ผลสด รูปทรงกลม เป็นพวงแน่นคล้ายพวงองุ่น เส้นผ่านศูนย์กลางผล 2-3 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดงคล้ำเมล็ดมี 1-2 เมล็ด มีเปลือกหุ้มแข็ง พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ติดผลราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ยอดอ่อนและผลอ่อนรับประทานเป็นผัก |
สรรพคุณ | ตำรายาไทย ใบ เป็นยาแก้ไอ แก้ช้ำใน แก้หอบหืด ขับฟอกโลหิตระดู เถา ขับฟอกโลหิตระดู เป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ ราก เป็นยาถ่ายพรรดึก (แก้ท้องผูก) แก้ช้ำใน
และแก้ไอ |
แหล่งอ้างอิง | http://www.phargarden.com |