ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cleome viscosa L. |
ชื่อสามัญ | – |
วงศ์ | CAPPARACEAE |
ชื่ออื่น | ผักเสี้ยนผี Phak sian phi (Central, Peninsular); ผักส้มเสียนผี Phak som sian phi (Northern) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ต้น ไม้ล้มลุก มีขนละเอียดทั่วทั้งต้น ใบ ประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3-5 ใบ รูปไข่กลับหรือรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งกลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝัก |
สรรพคุณ | ตำรายาไทย ทั้งต้น รสขมร้อน เจริญไฟธาตุ คุมแก้ลม แก้ปวดท้อง ลงท้อง ทำให้หนองแห้ง แก้ฝีภายใน เช่น ฝีในปอด และลำไส้ แก้ฝีในตับ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ตัวยาช่วยในยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้โรคไขข้ออักเสบ ทาแก้โรคผิวหนัง หยอดหูแก้หูอักเสบ ใบ รสร้อนขม แก้ปัสสาวะพิการ แก้ฝีในปอด ตับ ขับหนองฝี ขับน้ำเหลืองเสีย ขับลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ ระบายอ่อนๆ พอกแก้ปวดศรีษะ ตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลัง ดอก รสขมขื่นร้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเชื้อโรค ผล รสเมาร้อนขม ฆ่าพยาธิ ราก รสร้อนขม แก้โรคผอมแห้งของสตรี เนื่องจากคลอดบุตรแล้วอยู่ไฟไม่ได้ แก้วัณโรค แก้เลือดออกตามไรฟัน กระตุ้นหัวใจ เมล็ด รสร้อนขม ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เลือดออกตามไรฟัน กระตุ้นหัวใจ ต้น รสขมร้อนเหม็นเขียว ทำให้หนองแห้ง ใช้ทั้ง 5 คุมธาตุ แก้ลม แก้ปวดท้อง เจริญไฟธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ฝีในตับ ปอด ฝีในลำไส้ ขับหนองฝี
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ผักเสี้ยนผีในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของผักเสี้ยนผี (ทั้งต้น) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา |
แหล่งอ้างอิง | http://www.qsbg.org/Database
http://www.thaicrudedrug.com |