ชื่อวิทยาศาสตร์ | Nyctanthes arbor-tristis L. |
ชื่อสามัญ | – |
วงศ์ | Oleaceae |
ชื่ออื่น | กณิการ์ กรณิการ์ สบันงา |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ไม้พุ่มขนาดลาง หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร เปลือกต้นสีขาว ผิวหยาบ ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นเดี่ยว เรียงตรงข้าม ผิวใบสากมือ แผ่นใบหนา มีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ทั่วไป ใบเป็นรูปไข่หรือรูปหอก กว้าง 2-9 ซม. ยาว 4-13 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือจักห่างๆ ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงบริเวณซอกใบ หรือปลายกิ่ง ออกดอกประมาณช่อละ 5-8 ดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีส้มแดง ปลายแยกเป็นกลีบดอกสีขาว 5-8 กลีบ กลีบดอกบิดเวียนคล้ายกังหัน ขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาด 1.5-2 เซนติเมตร หลอดดอกยาว 1.50 เซนติเมตร ขอบกลีบจักหรือเว้า ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกมีกลิ่นหอมแรง หลุดร่วงง่าย จะเริ่มบานในช่วงเย็นแล้วร่วงในช่วงเช้า กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเขียวอ่อน โคนเชื่อมติดกัน ผล เป็นผลแบนรูปไข่กลับ ปลายมีติ่งแหลม เมื่อแห้งจะแตกเป็นสองซีก ในแต่ละซีกจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ออกดอกตลอดปี |
สรรพคุณ | ตำรายาไทย ต้น รสขมเย็นหวานฝาด แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดข้อ แก้ไข้ เปลือก รสขมเย็น ใช้เปลือกต้นชั้นใน ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ใบ รสขม บำรุงน้ำดี ขับน้ำดี แก้ไข้เพื่อดี แก้ไข้ แก้ปวดข้อ ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำคั้นเอาแต่น้ำ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง เป็นยาขมเจริญอาหาร ถ้ารับประทานมากจะเป็นยาระบาย ดอก รสขมหวาน บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร แก้ตานขโมย แก้ปวดข้อ แก้ไข้ แก้ไข้ไม่รู้สติ แก้ไข้ผอมเหลือง แก้ตาแดง แก้ลมวิงเวียน แก้พิษทั้งปวง แก้โลหิตตีขึ้นใช้ทำน้ำหอม ก้านดอกสีส้ม นำมาคั้นน้ำได้สีเหลืองเข้ม ใช้ย้อมผ้าได้ราก รสขมหวานฝาด แก้ท้องผูก แก้ลมวิงเวียน แก้ไอ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นผมให้ดกดำ แก้ผมหงอก เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้ไอ ต้นและราก รสหวานและฝาด ต้มหรือฝนรับประทานแก้ไอ สำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ |
แหล่งอ้างอิง | http://www.phargarden.com |