ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cymbopogon citratus Stapf. |
ชื่อสามัญ | Lemon Grass, Lapine |
วงศ์ | Poaceae (Gramineae) |
ชื่ออื่น | จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ตะไคร้ต้น มีลักษณะลำต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 6 – 20 เซนติเมตร ผิวลำต้น เกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุมลักษณะใบมีลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ เกิดจากส่วนของกิ่งที่แผ่ออกมาจากลำต้น ประกอบด้วยก้านใบและแผ่นใบ เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะยาวเรียวเรียงสลับ หลังใบสีเขียว ท้องใบมีสีขาวนวล ใบมีขนาด 1.86 X 6.32 เซนติเมตร เมื่อออกดอกใบจะกลายเป็นสีเหลืองและจะหลุด ร่วงไปดอกมีลักษณะเป็นช่อสั้น ๆ รวมกันเป็นกระจุกที่ซอกใบ ดอกสีขาวนวลหรือสีครีม มีกลิ่นหอม ออกดอกในเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ |
สรรพคุณ | 1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ 2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ 3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย 4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ 5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ 6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด |
แหล่งอ้างอิง | http://www.rspg.or.th
http://www.doa.go.th/ |