PA-HIN BOTANIC SOCIAL ENTERPRISE.Co,.Ltd.

PA-HIN BOTANIC SOCIAL ENTERPRISE.Co,.Ltd.

Retreat by Nature

Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับบริษัท
  • บริการของเรา
    • โปรแกรมที่ 1
    • โปรแกรมที่ 2
    • โปรแกรมที่ 3
  • ข้อมูลพันธ์ไม้ในแหล่งเรียนรู้
    • พันธ์ุไม้น่ารู้
    • ต้นไม้ ดอกไม้ ในวรรณคดี
    • ไม้ดอก ไม้ประดับ
    • สมุนไพร ไม้ไทย
  • ภายในแหล่งเรียนรู้
  • ผลิตภัณฑ์
  • กระดานถาม – ตอบ
  • ติดต่อเรา
    • แผนที่เดินทาง
    • ที่อยู่การติดต่อ
  • Login
    • Password Reset
    • Profile
    • Logout
  • Join Us
    • Registration

แห้วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus Linn.
ชื่อสามัญ Nut grass, Purple nut sedge, Nut sadge
วงศ์ CYPERACEAE
ชื่ออื่น หญ้าแห้วหมู , หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) , ซาเชา (จีนแต้จิ๋ว) , ซัวฉ่าว (จีนกลาง) , mutha , musta , mustuka (อินเดีย) , ko-bushi (ญี่ปุ่น)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 

แห้วหมูจัดเป็นพืชล้มลุก อยู่ในวงศ์กก เป็นวัชพืชอายุมากกว่า 1 ปีหรือหลายฤดู (perennial weed) เติบโต และออกดอก ผลได้หลายครั้ง เป็นพืช C4 ที่ตรึงคาร์บอนจากการสังเคราะห์แสงเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 4 อะตอม มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ และแบบอาศัยเพศ
• หัว และราก แห้วหมูมีหัวใต้ดิน เชื่อมต่อด้วยไหลขยายจากต้นเดิมเป็นหัวใหม่ และสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ หัวมีขนาดเล็ก ปกคลุมด้วยเปลือกสีดำ เนื้อด้านในมีสีเหลืองขาว มีรสเผ็ดปร่า ส่วนไหลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ต้นแห้วหมูพันธุ์ขนาดเล็กจะให้รสเผ็ดมากกว่าต้นแห้วหมูพันธุ์ใหญ่
• ลำต้นแห้วหมู มีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นมันเรียบ ไม่แตกแขนง รูปทรงสามเหลี่ยม มีสีเขียวแก่ มีความสูงประมาณ 10 -60 เซนติเมตร ตามลักษณะสายพันธุ์ เนื้อเยื่อด้านในอ่อน มีลักษณะเป็นเส้น• ใบแห้วหมู มีลักษณะเรียวแคบ และยาว ปลายแหลม กลางใบมีสันร่อง ขนาดใบกว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านบนมีสารจำพวก cutin เคลือบ ไม่มีปากใบ ส่วนผิวใบด้านล่างมี cutin เคลือบเช่นกัน แต่มีปากใบ
• ดอกแห้วหมู มีขนาดเล็กสีขาว ดอกออกเป็นช่อสีน้ำตาล ประกอบด้วยก้านชูดอก มีลักษณะเป็นก้านแข็งรูปสามเหลี่ยม ตั้งตรง มีดอกเชิงลด ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 3-8 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอก 1 ช่อดอกประกอบด้วยช่อดอกย่อย 3-10 ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ภายในดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 3 อัน อับเรณูยาว 1 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศเมีย 3 อัน เกสรตัวผู้มี 3 อัน อับเรณูยาวแคบ ปลายท่อรังไข่มี 3 แฉก
• ผลแห้วหมู และเมล็ด มีเปลือกแข็งรูปยาวเรียว รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม มีหน้าตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยมขนาดยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เป็นที่สะสมอาหารประเภทแป้ง และสารสำคัญหลายชนิด เช่น alkaliods, cardiac glycoside, flavonoides, polyphenols, vitamin C, essentail oils ทำให้เกิดกลิ่นฉุนเล็กน้อย

 

สรรพคุณ แม้ว่าหัวจะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางอาหาร ในทวีปแอฟริกาใช้เป็นอาหารเวลาขาดแคลน และเป็นอาหารนกในเวลาอพยพ การใช้ประโยชน์จากหญ้าแห้วหมู นิยมนำส่วนหัวใต้ดินมาใช้มากที่สุด เพราะประกอบด้วยสารหลายชนิดดังที่กล่าวข้างต้น สารสกัดที่ได้จากหัวแห้วหมูหรือการนำหัวแห้วหมูมาใช้นั้น นิยมใช้รักษาโรคต่างๆ
ตำรายาไทย ขับลม แก้อาการแน่นหน้าอก อาเจียน เข้ายาธาตุแก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เป็นยากล่อมประสาท เป็นยาแก้ปวดในหญิงที่ประจำเดือนไม่ปกติ ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นยาพอกฝีดูดหนอง
หมอพื้นบ้าน ใช้เป็นยาบำรุงทารกในครรภ์ ปรุงเป็นยาธาตุขับลมในลำไส้ และแก้อาการปวดท้องเนื่องจากท้องอืด เฟ้อ ใช้ผสมในลูกแห้งหมาก หรือแป้งเหล้า ในการทำแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เกิดแก๊สเร็ว แห้วหมูมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร ซึ่งหัวมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย ใช้ขับลม ส่วนสารสกัดจากรากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย ใช้แก้ไข้ ความผิดปกติในทางเดินอาหาร ชาวอาหรับในบริเวณเลอวานต์นำหัวไปอบให้ร้อน ใช้ประคบบริเวณที่บวม ตำรายาจีนเรียกเซียวฟู่ (ภาษาจีนกลาง) หรือเฮียวหู้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) รากใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์แผนใหม่ ใช้แห้วหมูรักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์หลายชนิดเช่น: α-cyperone β-selinene cyperene cyperotundone patchoulenone sugeonol kobusone และ isokobusone สารสกัดจากหัวที่สกัดด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนธีน- ออกซิเดส เชื้อมาลาเรียลดฤทธิ์อะฟาทอกซิน ลดความเป็นพิษที่มีต่อตับ ลดฤทธิ์แอลกอฮอล์ รักษาแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มความดันโลหิต กระตุ้นประสาท กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ลดอาการหดเกร็งของลำไส้ กล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อเรียบ บำรุงหัวใจ กระตุ้นระบบหายใจ ลดการอักเสบ ยับยั้งเอนไซม์ Glutamate pyruvate transaminase, Prostaglandin synthetase , Aldose reductase , gamma– glutamyl transpeptidase ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน Estrogen ช่วยลดระดับไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ และ chlolesteral ในเลือด เพิ่มความเข้มข้นของ Plasma protein และยับยั้งการชีวสังเคราะห์ Prostaglandin
แหล่งอ้างอิง www.disthai.com

ค้นหาข้อมูลพันธ์ไม้

เรื่องล่าสุด

  • โรงปุ๋ยอินทรีย์
  • บรรยากาศบ้านพักภายในสวน
  • โรงเรือนเพาะชำ
  • ประตูทางเข้าบริษัท

ความเห็นล่าสุด

  • tongkam บน ทดสอบ
  • tokngkam บน ทดสอบ
  • admin บน ประตูทางเข้าบริษัท
  • admin บน ประตูทางเข้าบริษัท

คลังเก็บข่าวประชาสัมพันธ์

หมวดหมู่

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

  • 23772ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด:
  • 6ผู้เยี่ยมชมวันนี้:
  • 16ผู้เยี่ยมชมเมื่อวาน:
  • 113ผู้เยี่ยมชมสัปดาห์ที่แล้ว:
  • 0ผู้ออนไลน์ในขณะนี้:

PA-HIN BOTANIC SOCIAL ENTERPRISE.Co,.Ltd. 2025 . Powered by WordPress