ชื่อวิทยาศาสตร์ | Costus speciosus (Koen.) Sm. |
ชื่อสามัญ | Crape ginger, Malay ginger, Spiral flag |
วงศ์ | COSTACEAE |
ชื่ออื่น | ชู้ไลบ้อง, ซูเลโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) ; เอื้องหมายนา (ทั่วไป) ; เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช) ; เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (ภาคใต้) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ไม้ล้มลุก (H) ที่มีเหง้าหัวอยู่ใต้ดิน สูงประมาณ 1.5-3 เมตร ลักษณะลำต้นเหนือดินกลม อุ้มน้ำ ตามลำต้นมีรอยแผลใบโดยรอบ รากจะเป็นหัวใหญ่ยาว ตามบริเวณโคนต้นจะติดหัวแข็งคล้ายไม้
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย ลักษณะใบรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน โคนใบมน ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนและมีส่วนหุ้มรอบลำต้น ด้านล่างมีขนนุ่มคล้ายเส้นไหม กาบใบอวบ สีเขียวหรือน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น ใบกว้าง 5-7 ซม. และยาวประมาณ 15-20 ซม. ดอก จะออกดอกเป็นช่อตรงยอด ดอกย่อยจะอยู่รวมกันหนาแน่น ดอกย่อยจะมีกลีบเลี้ยงอยู่ 3 กลีบ เป็นแผ่นแบน ขอบมนเป็นสีม่วงแดง กลีบดอกนั้นจะติดเป็นหลอด ส่วนปลายจะแยกเป็นกลีบสีขาวหรือออกแดงเล็กน้อย ส่วนอีกกลีบหนึ่งจะมีลักษณะคล้ายลิ้น เป็นแผ่นสีขาวตรงกลางสีเหลือง ใบประดับมีสีม่วงแดงรูปไข่ แต่ละใบประดับจะมีดอกอยู่ 1 ดอก ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ผล ลักษณะกลมรูปไข่ ยาว 1.5-2.5 ซม. มีเนื้อแข็ง สีแดงสด และมีกลีบเลี้ยงเหลือติดอยู่ ภายในจะมีเมล็ดเป็นมัน สีดำ |
สรรพคุณ | ราก รสขมเมา ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง
เหง้า รสขมเมา เผ็ดปร่า ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ตกขาว แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้แผลหนองอักเสบ บวม แก้พยาธิ เป็นยาถ่าย เหง้าสด มีพิษมาก ทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง ดังนั้นต้องทำให้สุกก่อนเสมอ (ในเหง้า สารชื่อ Diosgenin ใช้สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน น้ำคั้นเป็นยาระบายรับประทานกับใบพลูแก้ไอ) |
แหล่งอ้างอิง | https://prayod.com |