ชื่อวิทยาศาสตร์ | Citrus hystrix DC. |
ชื่อสามัญ | Leech lime, Mauritus papeda |
วงศ์ | Rutaceae |
ชื่ออื่น | มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
|
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล |
สรรพคุณ | ราก – กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
ใบ – มีน้ำมันหอมระเหย ผล, น้ำคั้นจากผล – ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด ผิวจากผล
|
แหล่งอ้างอิง | http://www.rspg.or.th/ |